วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประสบการณ์ทางด้าน Affiliate Marketing



ด้วยประสบการณ์ทางด้าน Affiliate Marketing มากกว่า 14 ปี ในประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้ได้มาถึงประเทศไทยแล้ว โดยระบบ Affiliate ของ AccessTrade จะเน้นรูปแบบ CPA (Cost Per Action) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนสูงกับเจ้าของเว็บไซต์

ก่อนอื่นเรามารู้กับ CPA และ CPC ว่าคืออะไร?

      CPC (Cost Per Click) คือการที่เจ้าของสินค้า(Advertiser)จ่ายเงินให้กับผู้โฆษณา(Partner หรือ เจ้าของเว็บไซต์ที่นำแบนเนอร์หรือลิ้งค์ของเจ้าของสินค้าไปติด) เมื่อเกิดการคลิก เช่น การลงโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์โดยการนำแบนเนอร์หรือลิ้งค์ไปติดไว้ที่หน้าเว็บ เมื่อมีลูกค้าคลิกแบนเนอร์โฆษณาที่นำไปวางไว้ ผู้วางโฆษณาจะได้ค่าคลิกต่อหนึ่งคลิก ตามราคาที่ตกลงกับเจ้าของสินค้าไว้ ข้อดีของ CPC คือ ผู้วางโฆษณาจะได้รับเงินทุกครั้งที่เกิดการคลิก แต่ในมุมกลับกัน เจ้าของสินค้าหรือที่เรียกว่าเจ้าของ Banner โฆษณา จะต้องชำระเงินให้กับผู้โฆษณาทุกครั้งที่เกิดการคลิก แต่ไม่สามารถการรันตีได้ว่าผู้คลิกโฆษณาจะตัดสินใจซื้อสินค้านั้นหรือไม่ เจ้าของสินค้าก็ต้องจ่ายค่าคลิกโดยสินค้าอาจจะไม่สามารถขายได้ จึงทำให้ผลตอบแทนค่าคลิกตํ่า เมื่อเทียบกับ CPA
     CPA (Cost Per Action) คือ รูปแบบการจ่ายผลตอบแทน โดยจ่ายค่าคอมมิชชั่นเมื่อมีการกระทำตามที่กำหนดไว้ เช่น จ่ายเมื่อมีการซื้อสินค้า จ่ายเมื่อมีการกรอกแบบฟอร์ม จ่ายเมื่อมีการใส่ข้อมูลอีเมลล์ หรือจ่ายเมื่อมีการใส่รหัสไปรษณีย์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน CPA เป็นรูปแบบการตลาดที่นิยมมากกว่า CPC เพราะว่าผลตอบแทนที่ได้ต่อหนึ่งเอคชั่นมีผลตอบแทนที่สูง เช่น การขายสินค้าชึ้นหนึ่งราคา 2,500 บาท ผู้ขายให้คอมมิชชั่น 10% หมายความว่าผู้โฆษณาได้เงิน 250 บาทต่อการขายหนึ่งครั้ง ซึ่งถ้าราคาสินค้า 2,500 บาทนี้เจ้าของสินค้าเลือกรูปแบบโฆษณาแบบ CPC ก็คงจะตั้งค่าคลิกไว้เพียง คลิกละ 1-2 บาท ซึ่งเห็นว่าจะต้องมีผู้คลิ๊กถึงประมาณ 125-250 คลิ๊ก เจ้าของเว็บไซต์จึงจะได้ค่าคอมมิชชั่น 250 บาท ซึ่งในความเป็นจริงลูกค้าที่สนใจคลิ๊กโฆษณาโดยเฉลี่ยประมาณ 50-70 ครั้ง ก็จะมีการซื้อสินค้าหนึ่งครั้ง นั้นหมายความว่าผู้โฆษณาหรือเจ้าของเว็บไซต์เสียโอกาสในการรับค่าคอมมิชชั่นแบบ CPA ไป ดังนั้นจะเห็นว่าถ้าผู้โฆษณาหรือเจ้าของเว็บไซต์เลือกทำโฆษณาแบบ CPA จะได้ผลตอบแทนถึง 1,000 บาท ซึ่งมากกว่ารายได้ที่เกิดจาก CPC ประมาณ 4 เท่า
        จากตัวอย่างของการลงโฆษณาแบบ CPC และ CPA ข้างต้น จะเห็นว่าCPA ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า CPC โดยเฉพาะในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาที่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์หรือบล็อกที่เขียนเกี่ยวกับกับเงินกู้ เมื่อมีผู้ใช้ค้นหาคำว่าเงินกู้ และเข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณ คนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่สนใจในเงินกู้จริงๆ จึงมีเปอร์เซนต์ที่จะคลิ๊กผ่านโฆษณาของคุณไปทำการกู้เงินสูง ซึ่งคุณจะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการกู้เงินนั้น
       แต่อย่างไรก็ตาม CPC ก็มีข้อดีในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ซึ่งโดยปรกติผู้เยี่ยมชมเหล่านี้จะมาจากหลายๆกลุ่มซึ่งมีความสนใจในเรื่องที่ต่างกัน นั้นหมายความว่าโดยส่วนใหญ่ เนื้อหาของเว็บไซต์ที่มีผู้ชมมากขนาดนี้จะเป็นเว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหาไม่เฉพาะเจาะจง เช่น มีเนื้อหาทั้งในเรื่องก่อสร้าง ความสวยความงาม รถยนต์ ท่องเที่ยว ดังนั้นโฆษณาที่เลือกนำไปโฆษณาจึงเหมาะที่จะเลือกแบบ CPC เพราะจะมีคนคลิ๊กผ่านโฆษณาของคุณมากแต่คนเหล่านี้จะไปสู่การซื้อสินค้ายาก เนื่องจากการเข้ามาชมเว็บไซต์ไม่ได้เจาะจงว่าสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ
      โดยปรกติแล้ว เจ้าของสินค้าจะทำการโฆษณาสินค้าอยู่สองแบบ คือ 1. เพื่อสร้างแบรด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักโดยไม่เน้นว่าจะต้องขายสินค้าได้ เจ้าของสินค้ากลุ่มนี้จะเลือกรูปแบบโฆษณา CPC และ 2. เจ้าของสินค้าเน้นโฆษณาเพื่อขายสินค้าของตนเอง ก็จะเน้นโฆษณาในรูปแบบ CPA ในทางกลับกัน เจ้าของเว็บไซต์ก็มีสองแบบเช่นเดียวกัน คือ 1. เจ้าของเว็บไซต์ที่เขียนเรื่องหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้เหมาะสมที่จะนำรูปแบบ CPC มาใช้ในการทำโฆษณา และ 2. สองเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้เยี่ยมเว็บไซต์นี้ก็จะเป็นกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องนั้น และมีโอกาสที่จะซื้อสินค้าสูง ดังนั้นเว็บไซต์เหล่านี้จึงเหมาะที่จะนำรูปแบบโฆษณา CPA มาใช้
       ดังนั้น Cost Per Action (CPA) คือช่องทางเลือกอีกประเภทที่สามารถทำเงินให้กับผู้ลงโฆษณาบนเว็บไซต์และเจ้าของสินค้า ได้ดีกว่า CPC เพราะเว็บไซต์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง หรือแม้แต่ในเว็บไซต์ใหญ่ๆ ที่มีผู้ชมเยอะๆ ในหน้าแรกที่มีเรื่องราวหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่พอหน้าในๆ ก็จะเป็นเนื้อหาเฉพาะเจาะจงเช่นเดียวกันกับเว็บไซต์หรือบล็อกที่เขียนเรื่องนั้นๆเป็นการเฉพาะ ดังนั้นการโฆษณาแบบ CPA จึงเหมาะกับเว็บไซต์ทุกประเภท จึงกล่าวได้ว่า CPA นี่แหละคือแหล่งทำเงินให้กับเจ้าของเว็บไซต์เลยก็ว่าได้

          ผู้สนใจร่วมเป็น Partner เพื่อทำเงินในรูปแบบ CPA กับ AccessTrade สามารถสมัครได้ที่ 
AccessTrade

โดยที่ผู้สมัครต้องมีเว็บไซต์ของตนเอง และต้องใส่ http:// หรือ https:// นำหน้าเว็บไซต์ในช่องที่ให้กรอกชื่อเว็บไซต์ด้วย

โดยช่วงแนะนำระบบ CPA กับ AccessTrade นี้ ทาง AccessTrade มีโปรโมชั่นสำหรับผู้ที่มีหน้าเว็บไซต์และเนื้อหาดีและสวยงาม สามารถลุ้นรับ Samsung Tablet ฟรี

Access Trade คืออะไร ?

Access Trade คืออะไร ?

          ก่อนอื่นผมต้องเกริ่นนำว่า Affiliate Marketting คือ การทำตลาดโดยอาศัยตัวแทนโฆษณาและเมื่อขายได้จะได้ค่าตอบแทนคือค่าคอมมิสชั่น พูดง่ายๆ ก็เหมือนเราเป็นนายหน้านำสินค้าของผู้บริการหนึ่ง มาขายเมื่อขายได้เราก็จะได้ค่าตอบแทนคือค่าคอมมิสชั่น ผมขอยกตัวอย่างอธิบายให้เข้าใจนะครับ คือ เมื่อเรามีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเราก็จะนำสินค้าหรือแบนเนอร์จากผู้บริการมาลงที่เว็บไซต์ของเราและเมื่อมีคนมาคลิกผ่านแบนเนอร์บนเว็บไซต์ของเราเข้าไปหรือสั่งซื้อสินค้าเราก็จะได้ค่าคอมมิสชั่นจากสินค้าที่เราขายได้

ทำไมต้องทำ Affiliate กับ Access Trade และข้อดีของ Affiliate Access Trade มีอะไรบ้าง ?
ทำไมต้องทำ Affiliate .. ตอนนี้ Access Trade พึ่งเข้ามาในประเทศไทย จึงเหมาะกับการสร้างรายได้อย่างมาก

ข้อดีของ Affiliate Access Trade
- ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าเป็นของตัวเอง
- ไม่จำเป็นต้องบริการหลังการขาย
- ไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ หากมีเว็บไซต์เป็นของตนเองจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
- สามารถควบคุมต้นทุนได้
- สามารถหยุดการขายได้ทันทีถ้าไม่มีกำไร โดยไม่จำเป็นต้อง Stock สินค้า
- สามารถทำงานได้จากทุกที่ เพียงเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
- สามารถมีรายได้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ดำเนินกิจการใด
- ระบบที่มีความปลอดภัยสูง

Access Trade มีค่าตอบแทนอย่างไร ?
Access Trade จะจ่ายให้เราก็ต่อเมื่อเรานำลิ้งค์หรือแบนเนอร์ของ Access Trade มาแปะไว้ที่เว็บหรือบล็อกของเรา เมื่อมีคนมาสมัครก็จะได้ค่าตอบแทน 70 บาท ต่อ 1 Register (กรณีนี้ท่านที่มาสมัครต่อต้องได้รับการยืนยันจาก Access Trade ด้วยถึงจะได้รับค่าคอมมิสชั่น)

วิธีสมัคร Access Trade Partner
ก่อนอื่น..เพื่อนๆ ต้องมีเว็บไซต์หรือบล็อกเป็นของตนเองก่อน จากนั้นก็ทำการเขียนบทความ พอเขียนเสร็จก็ไปสมัครที่ campaign.accesstrade.in.th หลังจากนั้นก็ต้องรอจน Access Trade ส่งอีเมลล์มายืนยัน